สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนเลือกซื้อแอร์

Last updated: 9 ม.ค. 2557  |  3599 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนเลือกซื้อแอร์


สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนเลือกซื้อแอร์

  เลือกขนาด BTU ที่เหมาะสม

          ขนาด BTU (British Thermal Unit) คือ ขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ซึ่ง 1 ตันความเย็น จะเท่ากับ 12000 BTU ต่อชั่วโมง ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงขนาดของแอร์กับขนาดของห้องให้พอดีกัน เพราะหากเลือกแอร์ที่มี BTU สูงหรือต่ำจนเกินไป จะทำให้เปลืองไฟและแอร์เสียได้ง่ายอีกด้วย

  การคิดค่า BTU
แบบคร่าว ๆ

          การคำนวณค่า BTU แบบคร่าว ๆ เพื่อเลือกแอร์ที่มีขนาด BTU เหมาะสมกับห้องนั้น สามารถทำได้ด้วยการใช้ขนาดของพื้นที่คูณด้วย 650-800 BTU ต่อ 1 ตารางเมตร ทั้งนี้สามารถบวกลบได้อีก 5% ขึ้นอยู่กับตัวแปรต่าง ๆ เช่น ทิศทางของห้อง การโดนแดด ลักษณะการใช้งาน เป็นต้น โดยมีตัวอย่างคร่าว ๆ ของขนาด BTU ที่เหมาะสมดังนี้



 

ตารางการเลือกขนาด BTU
 ขนาด BTU ห้องปกติ ห้องโดนแดด
 9,000 BTU  12-15 ตารางเมตร  10-14 ตารางเมตร
 12,000 BTU  16-20 ตารางเมตร  14-18 ตารางเมตร
 18,000 BTU  24-30 ตารางเมตร  21-27 ตารางเมตร
 21,000 BTU  28-35 ตารางเมตร  25-32 ตารางเมตร
 24,000 BTU  32-40 ตารางเมตร  28-36 ตารางเมตร
 25,000 BTU  35-44 ตารางเมตร  30-39 ตารางเมตร
 30,000 BTU  40-50 ตารางเมตร  35-45 ตารางเมตร
 

 
ปัจจัยอื่น ๆ

 คอมเพรสเซอร์ (Compressor)


          ควรเลือกคอมเพรสเซอร์ที่เหมาะสมกับความต้องการ โดยคอมเพรสเซอร์นั้นแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ

          1.
คอมเพรสเซอร์ลูกสูบ (Reciprocating Compressor)
 ทำงานด้วยการใช้กระบอกสูบในการอัดน้ำยา ให้กำลังแรงสูง แต่มีความสั่นสะเทือนสูง และเสียงค่อนข้างดัง นิยมใช้ในเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่

          2. คอมเพรสเซอร์โรตารี่ (Rotary Compressor) ทำงานด้วยการหมุนของใบพัดที่มีความเร็วสูง มีความสั่นสะเทือนน้อย เสียงเงียบ เหมาะสำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก

          3. คอมเพรสเซอร์แบบขด (Scroll Compressor) ทำงานด้วยใบพัดรูปก้นหอย มีความสั่นสะเทือนน้อยมาก มีเสียงเงียบ ให้พลังงานสูง ถือว่าดีกว่าคอมเพรสเซอร์ชนิดอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน

คอยล์ (Coil)

          เป็นอุปกรณ์สำหรับระบายและดูดซับความร้อนจากอากาศ ประกอบด้วย ท่อทองแดง และครีบอลูมิเนียม (Fin) ก่อนเลือกซื้อให้พิจารณาวัสดุที่ใช้ทำคอยล์ เช่น สารที่เคลือบป้องกันการกัดกร่อน หรือความหนาของครีบ เป็นต้น หากเลือกคอยล์ที่มีคุณภาพดีแอร์ของคุณก็จะมีอายุการใช้งานได้นานขึ้น

มอเตอร์พัดลม (Fan Motor)

          มอเตอร์พัดลมเป็นส่วนสำคัญในแอร์ที่จะช่วยระบายและดูดซับความร้อน เพื่อให้แอร์ของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมอเตอร์พัดลมที่ดีควรใช้ขดลวดที่ทนความร้อนได้สูง เพื่อให้รอบการทำงานของมอเตอร์ไม่สะดุด และไม่เสื่อมคุณภาพง่ายอีกด้วย ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อแอร์จึงควรสอบถามถึงข้อมูลของมอเตอร์พัดลมให้ละเอียดก่อน

 

ระบบฟอกอากาศ (Air Purifier)

          ระบบฟอกอากาศกลายเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ไปแล้วสำหรับแอร์ที่วางขายอยู่ในปัจจุบัน เพราะระบบฟอกอากาศจะช่วยหมุนเวียนให้อากาศภายในห้องสะอาดบริสุทธิ์มากขึ้น โดยแบ่งออกเป็นหลายระบบดังนี้


          1. การกรอง (Filtration) เป็นการใช้แผ่นกรองอากาศดักจับฝุ่นละอองเอาไว้ และต้องหมั่นเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศเมื่อหมดอายุการใช้งาน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคในอากาศ นอกจากนี้หากต้องการกำจัดกลิ่นให้เลือกแผ่นกรองที่เป็นคาร์บอน เพื่อดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ

          2. การดักจับด้วยไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator) คือการดักจับฝุ่นละอองในอากาศด้วยการใช้ตะแกรงไฟฟ้า (Electric Grids) และใช้แผ่นโลหะอีกชุดเรียงขนานกันเพื่อดูดฝุ่นละอองเอาไว้ หากมีการหมดอายุต้องหยุดเครื่องเพื่อทำความสะอาด

          3. การปล่อยประจุไฟฟ้า (Ionizer) คือการผลิตประจุไฟฟ้าประจุลบเพื่อปล่อยออกมาพร้อมกับลมเย็น เพื่อให้ดักจับฝุ่นละอองที่เป็นประจุบวก ซึ่งฝุ่นละอองที่ถูกดักจับจะรวมตัวกันและร่วงหล่นมาบนพื้นห้อง สามารถทำความสะอาดห้องได้ตามปกติ โดยไม่ต้องทำความสะอาดภายในเครื่องปรับอากาศ

การประหยัดไฟ (Energy Saving)

          เครื่องปรับอากาศยุคใหม่นั้น ส่วนใหญ่แล้วมักมีฉลาดประหยัดไฟเบอร์ 5 ติดเอาไว้ โดยแอร์ที่ติดฉลากเบอร์ 5 จะเป็นแอร์ที่มีประสิทธิภาพในการให้พลังงานสูง ทำให้ประหยัดไฟฟ้า โดยมีข้อเสียตรงที่ราคาสูงกว่าแอร์ทั่วไป จึงควรศึกษาฉลากประหยัดไฟให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ ว่าเหมาะสมกับความต้องการของคุณหรือไม่

เลือกประเภทของการใช้งาน

          เครื่องปรับอากาศนั้นมีให้เลือกประเภทในการใช้งานอยู่ 2 รูปแบบแตกต่างกันดังนี้

          1. แอร์ติดผนัง เป็นแบบยอดนิยม เพราะมีความเล็กกะทัดรัด เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่น้อย หรือไม่ต้องการวางบนพื้นให้เกะกะ เสียงเงียบ และรูปลักษณ์ทันสมัย แต่ไม่เหมาะกับงานหนัก หรือห้องที่ต้องการความเย็นสูง และเป็นเวลานาน

          2. แบบตั้งพื้น หรือ แบบแขวน เป็นแอร์ที่ให้พลังงานสูง เหมาะสำหรับห้องทุกขนาด สามารถเลือกติดตั้งกับพื้น หรือแขวนเพดานก็ได้ แต่ข้อเสียคือหน้าตาไม่ทันสมัย รวมทั้งกินไฟมากกว่าด้วย

คุณสมบัติพิเศษและดีไซน์

          ปัจจุบันเครื่องปรับอากาศนั้นมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ ก่อนซื้อแอร์สักเครื่องคุณจึงควรเปรียบเทียบคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ ที่มีให้เลือกหลากหลายก่อนว่ามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร เช่น นาโนไทเทเนียม ซิลเวอร์นาโน เป็นต้น นอกจากนี้อย่าลืมเลือกรูปร่างหน้าตาของแอร์ในแบบที่คุณชอบ หรือจะเลือกให้เข้ากับห้องนั้น ๆ ก็ได้ จะได้ออกมาสวยงามกลมกลืนกัน

การติดตั้งและการบริการหลังการขาย

          เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ควรเก็บเอาไปพิจารณา โดยให้เลือกบริษัทที่น่าเชื่อถือ มีความรู้ความเข้าใจและสามารถอธิบายเรื่องแอร์ให้คุณได้เป็นอย่างดี อีกทั้งให้ดูเรื่องการรับประกันและบริการหลังการขายด้วย เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่มีราคาแพง และมีอายุการใช้งาน การรับประกันและการดูแลซ่อมแซมแก้ไขหลังการขายจึงเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ยิ่งถ้าเป็นบริษัทใหญ่ที่มีอะไหล่และช่างเพียงพอก็ยิ่งดี

          รู้จักกับวิธีเลือกแอร์หรือเครื่องปรับอากาศกันไปแล้ว ก็อย่าลืมจดรายการที่ควรรู้ให้ดี แล้วพกไปช่วยเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจซื้อแอร์สักเครื่องมาใช้นะคะ ขอให้ได้แอร์ที่ถูกใจและคุณภาพดีใช้งานได้นาน ๆ จ้า

 
สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนเลือกซื้อแอร์

  เลือกขนาด BTU ที่เหมาะสม

          ขนาด BTU (British Thermal Unit) คือ ขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ซึ่ง 1 ตันความเย็น จะเท่ากับ 12000 BTU ต่อชั่วโมง ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงขนาดของแอร์กับขนาดของห้องให้พอดีกัน เพราะหากเลือกแอร์ที่มี BTU สูงหรือต่ำจนเกินไป จะทำให้เปลืองไฟและแอร์เสียได้ง่ายอีกด้วย

  การคิดค่า BTU
แบบคร่าว ๆ

          การคำนวณค่า BTU แบบคร่าว ๆ เพื่อเลือกแอร์ที่มีขนาด BTU เหมาะสมกับห้องนั้น สามารถทำได้ด้วยการใช้ขนาดของพื้นที่คูณด้วย 650-800 BTU ต่อ 1 ตารางเมตร ทั้งนี้สามารถบวกลบได้อีก 5% ขึ้นอยู่กับตัวแปรต่าง ๆ เช่น ทิศทางของห้อง การโดนแดด ลักษณะการใช้งาน เป็นต้น โดยมีตัวอย่างคร่าว ๆ ของขนาด BTU ที่เหมาะสมดังนี้



 

ตารางการเลือกขนาด BTU
 ขนาด BTU ห้องปกติ ห้องโดนแดด
 9,000 BTU  12-15 ตารางเมตร  10-14 ตารางเมตร
 12,000 BTU  16-20 ตารางเมตร  14-18 ตารางเมตร
 18,000 BTU  24-30 ตารางเมตร  21-27 ตารางเมตร
 21,000 BTU  28-35 ตารางเมตร  25-32 ตารางเมตร
 24,000 BTU  32-40 ตารางเมตร  28-36 ตารางเมตร
 25,000 BTU  35-44 ตารางเมตร  30-39 ตารางเมตร
 30,000 BTU  40-50 ตารางเมตร  35-45 ตารางเมตร
 

 
ปัจจัยอื่น ๆ

 คอมเพรสเซอร์ (Compressor)


          ควรเลือกคอมเพรสเซอร์ที่เหมาะสมกับความต้องการ โดยคอมเพรสเซอร์นั้นแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ

          1.
คอมเพรสเซอร์ลูกสูบ (Reciprocating Compressor)
 ทำงานด้วยการใช้กระบอกสูบในการอัดน้ำยา ให้กำลังแรงสูง แต่มีความสั่นสะเทือนสูง และเสียงค่อนข้างดัง นิยมใช้ในเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่

          2. คอมเพรสเซอร์โรตารี่ (Rotary Compressor) ทำงานด้วยการหมุนของใบพัดที่มีความเร็วสูง มีความสั่นสะเทือนน้อย เสียงเงียบ เหมาะสำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก

          3. คอมเพรสเซอร์แบบขด (Scroll Compressor) ทำงานด้วยใบพัดรูปก้นหอย มีความสั่นสะเทือนน้อยมาก มีเสียงเงียบ ให้พลังงานสูง ถือว่าดีกว่าคอมเพรสเซอร์ชนิดอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน

คอยล์ (Coil)

          เป็นอุปกรณ์สำหรับระบายและดูดซับความร้อนจากอากาศ ประกอบด้วย ท่อทองแดง และครีบอลูมิเนียม (Fin) ก่อนเลือกซื้อให้พิจารณาวัสดุที่ใช้ทำคอยล์ เช่น สารที่เคลือบป้องกันการกัดกร่อน หรือความหนาของครีบ เป็นต้น หากเลือกคอยล์ที่มีคุณภาพดีแอร์ของคุณก็จะมีอายุการใช้งานได้นานขึ้น

มอเตอร์พัดลม (Fan Motor)

          มอเตอร์พัดลมเป็นส่วนสำคัญในแอร์ที่จะช่วยระบายและดูดซับความร้อน เพื่อให้แอร์ของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมอเตอร์พัดลมที่ดีควรใช้ขดลวดที่ทนความร้อนได้สูง เพื่อให้รอบการทำงานของมอเตอร์ไม่สะดุด และไม่เสื่อมคุณภาพง่ายอีกด้วย ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อแอร์จึงควรสอบถามถึงข้อมูลของมอเตอร์พัดลมให้ละเอียดก่อน

 

ระบบฟอกอากาศ (Air Purifier)

          ระบบฟอกอากาศกลายเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ไปแล้วสำหรับแอร์ที่วางขายอยู่ในปัจจุบัน เพราะระบบฟอกอากาศจะช่วยหมุนเวียนให้อากาศภายในห้องสะอาดบริสุทธิ์มากขึ้น โดยแบ่งออกเป็นหลายระบบดังนี้


          1. การกรอง (Filtration) เป็นการใช้แผ่นกรองอากาศดักจับฝุ่นละอองเอาไว้ และต้องหมั่นเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศเมื่อหมดอายุการใช้งาน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคในอากาศ นอกจากนี้หากต้องการกำจัดกลิ่นให้เลือกแผ่นกรองที่เป็นคาร์บอน เพื่อดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ

          2. การดักจับด้วยไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator) คือการดักจับฝุ่นละอองในอากาศด้วยการใช้ตะแกรงไฟฟ้า (Electric Grids) และใช้แผ่นโลหะอีกชุดเรียงขนานกันเพื่อดูดฝุ่นละอองเอาไว้ หากมีการหมดอายุต้องหยุดเครื่องเพื่อทำความสะอาด

          3. การปล่อยประจุไฟฟ้า (Ionizer) คือการผลิตประจุไฟฟ้าประจุลบเพื่อปล่อยออกมาพร้อมกับลมเย็น เพื่อให้ดักจับฝุ่นละอองที่เป็นประจุบวก ซึ่งฝุ่นละอองที่ถูกดักจับจะรวมตัวกันและร่วงหล่นมาบนพื้นห้อง สามารถทำความสะอาดห้องได้ตามปกติ โดยไม่ต้องทำความสะอาดภายในเครื่องปรับอากาศ

การประหยัดไฟ (Energy Saving)

          เครื่องปรับอากาศยุคใหม่นั้น ส่วนใหญ่แล้วมักมีฉลาดประหยัดไฟเบอร์ 5 ติดเอาไว้ โดยแอร์ที่ติดฉลากเบอร์ 5 จะเป็นแอร์ที่มีประสิทธิภาพในการให้พลังงานสูง ทำให้ประหยัดไฟฟ้า โดยมีข้อเสียตรงที่ราคาสูงกว่าแอร์ทั่วไป จึงควรศึกษาฉลากประหยัดไฟให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ ว่าเหมาะสมกับความต้องการของคุณหรือไม่

เลือกประเภทของการใช้งาน

          เครื่องปรับอากาศนั้นมีให้เลือกประเภทในการใช้งานอยู่ 2 รูปแบบแตกต่างกันดังนี้

          1. แอร์ติดผนัง เป็นแบบยอดนิยม เพราะมีความเล็กกะทัดรัด เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่น้อย หรือไม่ต้องการวางบนพื้นให้เกะกะ เสียงเงียบ และรูปลักษณ์ทันสมัย แต่ไม่เหมาะกับงานหนัก หรือห้องที่ต้องการความเย็นสูง และเป็นเวลานาน

          2. แบบตั้งพื้น หรือ แบบแขวน เป็นแอร์ที่ให้พลังงานสูง เหมาะสำหรับห้องทุกขนาด สามารถเลือกติดตั้งกับพื้น หรือแขวนเพดานก็ได้ แต่ข้อเสียคือหน้าตาไม่ทันสมัย รวมทั้งกินไฟมากกว่าด้วย

คุณสมบัติพิเศษและดีไซน์

          ปัจจุบันเครื่องปรับอากาศนั้นมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ ก่อนซื้อแอร์สักเครื่องคุณจึงควรเปรียบเทียบคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ ที่มีให้เลือกหลากหลายก่อนว่ามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร เช่น นาโนไทเทเนียม ซิลเวอร์นาโน เป็นต้น นอกจากนี้อย่าลืมเลือกรูปร่างหน้าตาของแอร์ในแบบที่คุณชอบ หรือจะเลือกให้เข้ากับห้องนั้น ๆ ก็ได้ จะได้ออกมาสวยงามกลมกลืนกัน

การติดตั้งและการบริการหลังการขาย

          เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ควรเก็บเอาไปพิจารณา โดยให้เลือกบริษัทที่น่าเชื่อถือ มีความรู้ความเข้าใจและสามารถอธิบายเรื่องแอร์ให้คุณได้เป็นอย่างดี อีกทั้งให้ดูเรื่องการรับประกันและบริการหลังการขายด้วย เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่มีราคาแพง และมีอายุการใช้งาน การรับประกันและการดูแลซ่อมแซมแก้ไขหลังการขายจึงเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ยิ่งถ้าเป็นบริษัทใหญ่ที่มีอะไหล่และช่างเพียงพอก็ยิ่งดี

          รู้จักกับวิธีเลือกแอร์หรือเครื่องปรับอากาศกันไปแล้ว ก็อย่าลืมจดรายการที่ควรรู้ให้ดี แล้วพกไปช่วยเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจซื้อแอร์สักเครื่องมาใช้นะคะ ขอให้ได้แอร์ที่ถูกใจและคุณภาพดีใช้งานได้นาน ๆ จ้า

 

อมเพรสเซอร์  อะไหล่ แอร์ เทรน Trane Compressor
•  คอมเพรสเซอร์  แบบสโครล  Trane Scroll  Compressor  ระบบไฟฟ้า  220V/1PH
•  คอมเพรสเซอร์  แบบสโครล  Trane Scroll  Compressor  ระบบไฟฟ้า  380V/3PH
•  คอมเพรสเซอร์  แบบสโครล  Trane Scroll  Compressor  ขนาด  6.25-10  /  10-15  ตันความเย็น
•  คอมเพรสเซอร์  แบบโรตารี่  Trane Rotary  Compressor  ขนาด  0.75  -5  ตันความเย็น
•  คอมเพรสเซอร์  แบบโรตารี่  Trane Rotary  Compressor  ระบบไฟฟ้า  220V/1PH  (R-407C)
•  คอมเพรสเซอร์  แบบโรตารี่  Trane Rotary  Compressor  ระบบไฟฟ้า  220V/1PH  (R-410A)
•  คอมเพรสเซอร์  แบบสโครล  Trane Scroll  Compressor  ระบบไฟฟ้า  220V/1PH    380V/3PH  (R-407)
•  คอมเพรสเซอร์  แบบสโครล  Trane Scroll  Compressor  ขนาด  6.25-10  ตันความเย็น  R-407C
•  น้ำมันคอมเพรสเซอร์ Trane  Oil  Compressor

มอเตอร์  แอร์เทรน  Motor
•  มอเตอร์พัดลมคอยล์เย็น  Trane MCW  Hi-Wall  Indoor  Fan  Motors 
•  มอเตอร์พัดลมคอยล์เย็น  Trane MCX   CFEA    CFEB  Convertible  Indoor  Fan  Motors
•  มอเตอร์พัดลมคอลย์เย็น  Trane MCD    HFCA    HFCC    HFCD  Concealed  Indoor  Fan  Motors 
•  มอเตอร์พัดลมคอยล์เย็น  Trane MCV  HFWB  Tall  Floor  Indoor  Fan  Motors
•  มอเตอร์พัดลมคอยล์เย็น  Trane MCC    CWS  Cassette  Indoor  Fan  Motors
•  มอเตอร์พัดลมคอยล์ร้อน  Trane TTK  Condensing  Motor 
•  มอเตอร์พัดลมคอยล์ร้อน  Trane Condensing  Motor  แกนเพลา  1/2"
•  มอเตอร์พัดลมคอยล์ร้อน  Trane Condensing Motor  แกนเพลา  5/8"
•  อุปกรณ์เสริมสำหรับพัดลมคอยล์ร้อน  Option  For Trane Condensing  Motor
•  สเตปปิ้ง  มอเตอร์  /  มอเตอร์สวิง  Trane Stepping  /  Swing  Motor
•  Trane Air  Handling  unit  Induction  Motor  (Foot  Mounted)

 

 

ฟิลเตอร์ อะไหล่ แอร์ เทรน Trane  Filter
•  ฟิลเตอร์  (MCX    CFEA    CFEB) Trane  Filter  for  convertible  Type
•  ฟิลเตอร์  (MCW) Trane Filter  for  Hi-Wall  Type
•  ฟิลเตอร์  (MCD)  Trane Filter  for  Concealed  Type  w/  Plenum  only 
•  ฟิลเตอร์  (MCV)  Trane Filter  for  Tall  Floor 
•  ฟิลเตอร์  (MCC    CWS)  Trane Filter  for  Cassette  Type 

แผง คอยล์ร้อน    คอยล์เย็น อะไหล่ แอร์ เทรน Trane  Coil  Replacement    

•  คอยล์ร้อน    คอยล์เย็น  Trane MCW  (Hi-wall)  Series

•  คอยล์ร้อน    คอยล์เย็น  Trane MCX  Series

•  คอยล์ร้อน    คอยล์เย็น  Trane MCD  Series

•  คอยล์ร้อน    คอยล์เย็น  Trane MCC  Series

•  คอยล์ร้อน    คอยล์เย็น  Trane MCV  Series

•  คอยล์ร้อน    คอยล์เย็น  Trane TTH  /  TWE  Series

•  คอยล์ร้อน    คอยล์เย็น  Trane TTV  Series

•  คอยล์ร้อน    คอยล์เย็น  Trane TTK  Series

•  คอยล์ร้อน    คอยล์เย็น  Trane TTA  Series

•  คอยล์ร้อน    คอยล์เย็น  Trane RAUP  Series

•  คอยล์ร้อน    คอยล์เย็น  Trane CGAT  Series


http://www.amornpat.com
http://www.amornpat.co.th
http://amornpat.lnwshop.com

บจก.อมรภัทร เทรดดิ้ง  ผู้แทนจำหน่ายเครื่องปรับอากาศชั้นนำ(TRANE CARRIER SAMSUNG MITSUBISHI  PANASONIC, LG ฯลฯ) และ ศูนย์อะไหล่เครื่องปรับอากาศ TRANE จำหน่าย ติดตั้ง ออกแบบ ระบบเครื่องปรับอากาศ ระบบน้ำเย็น (Chiller) ระบบท่อส่งลมเย็น (Air Duct) สำหรับที่พักอาศัย อาคารสำนักงานและ โรงงานอุตสาหกรรม เครื่องทำน้ำเย็น อุปกรณ์ติดตั้งแอร์ ตู้น้ำเย็น ดำเนินการโดย วิศวกรผู้ชำนาญการ

http://www.amornpat.com
http://www.amornpat.co.th
http://amornpat.lnwshop.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้